องค์การบริหารส่วนตำบลละเอาะ

Laor Subdistrict Administration Organization

ข้อมูลทั่วไป


ออนไลน์ : 14

หัวข้อ :: ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลทั่วไป
สภาพทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลละเอาะ

ประวัติความเป็นมา

                        เหตุที่ได้ชื่อ “บ้านละเอาะ”  เพราะเมื่อสมัยก่อนตำบลละเอาะ ตั้งชื่อตามลักษณะสีของน้ำที่อยู่ในพื้นที่ซึ่งมีสีขุ่น คำว่า “ละเอาะ” แปลว่า “ขุ่น” แต่ก่อนพื้นที่ตำบลนี้มีสภาพแห้งแล้ง กันดาร ขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ ราษฎรดั้งเดิม เป็นชนเผ่าส่วย ใช้ภาษาส่วยเป็นภาษาพูด มีศิลปวัฒนธรรมที่ได้รักษามาถึงปัจจุบัน ได้แก่ ประเพณีรำแถน (กราบไว้บรรพบุรุษ) การแต่งกายพื้นเมืองนิยมสวมใส่เสื้อผ้าที่ทอเป็นผ้าเหยียบลายดอกแก้วผ้าย้อมมะเกลือ (สีดำ) ประดับด้วยเครื่องเงิน

วิสัยทัศน์
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน  ส่งเสริมการศึกษาและวัฒนธรรมพื้นบ้าน  สืบสานประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น  มุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพชีวิต  ส่งเสริมเศรษฐกิจของชุมชน  เพิ่มผลผลิตและรายได้ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

คำขวัญตำบลละเอาะ

ห้วยทาปลาชุมน่าดู  พังคูเขตเมืองโบราณ  สืบสานประเพณีรำแถน
หนาแน่นวัฒนธรรมชาวส่วย   สุดสวยผ้าลายลูกแก้ว

 

ทำเลที่ตั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลละเอาะ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 ตำบลละเอาะ อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ
ตำบลละเอาะ เป็น 1 ใน 6  ตำบล ในเขตอำเภอน้ำเกลี้ยง  
จังหวัดศรีสะเกษ มีอาณาเขตพื้นที่อยู่ติดกันท้องถิ่นใกล้เคียง 4 แห่ง  คือตำบลตองปิด ,
ตำบลน้ำเกลี้ยง,ตำบลรุ่งระวี , ตำบลตำแยอำเภอพยุห์  , ดังนี้
ทิศเหนือ          จรด     ตำบลตองปิด    อำเภอน้ำเกลี้ยง    จังหวัดศรีสะเกษ
ทิศตะวันออก  จรด     ลำห้วยทาและเขตตำบลน้ำเกลี้ยง   จังหวัดศรีสะเกษ
ทิศตะวันตก    จรด     ตำบลตำแย      อำเภอพยุห์        จังหวัดศรีสะเกษ
ทิศใต้               จรด     ลำห้วยทาและเขตตำบลรุ่งระวี อำเภอน้ำเกลี้ยง  จังหวัดศรีสะเกษ
โดยตำบลละเอาะอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ ไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะทาง ประมาณ 7  กิโลเมตร   และห่างจาก ตัวจังหวัดศรีสะเกษไปทางทิศตะวันตก ประมาณ   28  กิโลเมตร

เนื้อที่
ตำบลละเอาะ  มีพื้นที่ตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย  ประมาณ  16,766  ไร่ หรือ  30.304   ตารางกิโลเมตร  เป็นเขตการปกครอง

ภูมิประเทศ 
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะสำหรับทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์มีลำน้ำที่สำคัญได้แก่  ลำห้วยทา  สภาพทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย ความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลาง

 

เขตการปกครอง

          มี  13  หมู่บ้าน    อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล  เต็มหมู่บ้าน  13 หมู่บ้านโดยแยกพื้นการปกครองออกเป็น   13    หมู่บ้าน  ดังนี้


หมู่ที่

ชื่อบ้าน

  1. จำนวนประชากร

จำนวนครัวเรือน

ชื่อผู้นำ

ชาย

หญิง

รวม

1

บ้านละเอาะ

394

418

812

212

นายคำสอน   ทุมมา      

2

บ้านขี้เหล็ก

259

223

482

482

นายสนิท   นามวิชา

3

บ้านแวด

458

456

914

212

นายบุญลพ   ศิริจันดา

4

บ้านหนองโสน

114

108

222

48

นายแสวง   สีแดด

5

บ้านพิทักษ์สันติ

236

248

484

101

นายสมัย   สมอินท์     

6

บ้านละเอาะ

282

275

557

125

นายลำผ่อง   สวัสดิ์ราช

7

บ้านทุ่งสว่าง

381

370

751

185

นายปรีชา  ไกรษี

8

บ้านเตาเหล็ก

355

371

726

160

นายคารมย์   นันทะเสน

9

บ้านหนองละเอาะ

201

224

425

99

นายสมัย   นามวิชา

10

บ้านเชือก

198

185

383

92

นายวงเดือน   ศรีปัตเนตร

11

บ้านเขวา

250

236

486

105

นายคำหล้า   ธงชัย

12

บ้านนวลละออ

268

272

540

125

นายพัด   โสผล

13

บ้านทรัพย์สมบูรณ์

327

368

695

152

นายเอิบ  อินธิเดช

รวม

3,723

3,754

7,477

1,742

 

 

ประชากร

- จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น  1,742  ครัวเรือน
-  ประชากรทั้งสิ้น    7,477  คน แยกเป็น
ชาย              จำนวน   3,723  คน  
หญิง                        จำนวน   3,754   คน

 จำนวนประชากรแยกช่วงอายุ  (ปี)

 

ช่วงอายุ  (ปี)

จำนวนประชากร

ชาย

หญิง

รวม

    น้อยกว่า  1 – 3  ปี

188

208

396

4 – 5 ปี

91

100

191

6 – 15  ปี

557

530

1,087

16 – 21 ปี

372

365

737

22 – 25  ปี

218

220

438

26 – 60  ปี

1,950

1,948

3,898

61  ปีขึ้นไป

334

386

720

 

การคมนาคม 
การคมนาคมของตำบลละเอาะ  มีถนนสายหลัก  2 สาย คือ

  1. ถนน รพช. ศก 3116 ( ละเอาะ – หนองนาเวียง)  โดยผ่าน ม. 13, ม. 2, ม.11, ม. 7
  2. ถนน รพช. ศก. 4004 (บ้านคล้อ – พยุห์ ) โดยผ่าน ม.8,ม.9,ม.6,ม.5 ไปตำบลตองปิด

สภาพถนนภาพในตำบลละเอาะ  เป็นถนนราดยางในถนนสายหลัก และถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในหมู่บ้าน การคมนาคมติดต่อกันระหว่างหมู่โดยใช้  รถโดยสารประจำทางสายศรีสะเกษ - บ้านจาน ,รถยนต์ส่วนบุคคล,รถจักยายยนต์,รถจักยาน และรถไถนาเดินตาม

 

 
วันที่ : 26 มกราคม 2560   View : 3246