ออนไลน์ : 18
สภาพทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลละเอาะ
ประวัติความเป็นมา
เหตุที่ได้ชื่อ “บ้านละเอาะ” เพราะเมื่อสมัยก่อนตำบลละเอาะ ตั้งชื่อตามลักษณะสีของน้ำที่อยู่ในพื้นที่ซึ่งมีสีขุ่น คำว่า “ละเอาะ” แปลว่า “ขุ่น” แต่ก่อนพื้นที่ตำบลนี้มีสภาพแห้งแล้ง กันดาร ขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ ราษฎรดั้งเดิม เป็นชนเผ่าส่วย ใช้ภาษาส่วยเป็นภาษาพูด มีศิลปวัฒนธรรมที่ได้รักษามาถึงปัจจุบัน ได้แก่ ประเพณีรำแถน (กราบไว้บรรพบุรุษ) การแต่งกายพื้นเมืองนิยมสวมใส่เสื้อผ้าที่ทอเป็นผ้าเหยียบลายดอกแก้วผ้าย้อมมะเกลือ (สีดำ) ประดับด้วยเครื่องเงิน
วิสัยทัศน์
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ส่งเสริมการศึกษาและวัฒนธรรมพื้นบ้าน สืบสานประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น มุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมเศรษฐกิจของชุมชน เพิ่มผลผลิตและรายได้ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
คำขวัญตำบลละเอาะ
ห้วยทาปลาชุมน่าดู พังคูเขตเมืองโบราณ สืบสานประเพณีรำแถน
หนาแน่นวัฒนธรรมชาวส่วย สุดสวยผ้าลายลูกแก้ว
ทำเลที่ตั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลละเอาะ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 ตำบลละเอาะ อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ
ตำบลละเอาะ เป็น 1 ใน 6 ตำบล ในเขตอำเภอน้ำเกลี้ยง
จังหวัดศรีสะเกษ มีอาณาเขตพื้นที่อยู่ติดกันท้องถิ่นใกล้เคียง 4 แห่ง คือตำบลตองปิด ,
ตำบลน้ำเกลี้ยง,ตำบลรุ่งระวี , ตำบลตำแยอำเภอพยุห์ , ดังนี้
ทิศเหนือ จรด ตำบลตองปิด อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ
ทิศตะวันออก จรด ลำห้วยทาและเขตตำบลน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ
ทิศตะวันตก จรด ตำบลตำแย อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ
ทิศใต้ จรด ลำห้วยทาและเขตตำบลรุ่งระวี อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ
โดยตำบลละเอาะอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ ไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะทาง ประมาณ 7 กิโลเมตร และห่างจาก ตัวจังหวัดศรีสะเกษไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 28 กิโลเมตร
เนื้อที่
ตำบลละเอาะ มีพื้นที่ตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ประมาณ 16,766 ไร่ หรือ 30.304 ตารางกิโลเมตร เป็นเขตการปกครอง
ภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะสำหรับทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์มีลำน้ำที่สำคัญได้แก่ ลำห้วยทา สภาพทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย ความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลาง
เขตการปกครอง
มี 13 หมู่บ้าน อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล เต็มหมู่บ้าน 13 หมู่บ้านโดยแยกพื้นการปกครองออกเป็น 13 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ |
ชื่อบ้าน |
|
จำนวนครัวเรือน |
ชื่อผู้นำ |
||
ชาย |
หญิง |
รวม |
||||
1 |
บ้านละเอาะ |
366 |
387 |
753 |
220 |
นายคำสอน ทุมมา |
2 |
บ้านขี้เหล็ก |
258 |
242 |
500 |
134 |
นาประวัติ พฤกษชาติ |
3 |
บ้านแวด |
490 |
470 |
960 |
228 |
นายประมาญ ท่วงที |
4 |
บ้านหนองโสน |
119 |
115 |
234 |
51 |
นายแสวง สีแดด |
5 |
บ้านพิทักษ์สันติ |
251 |
264 |
515 |
111 |
นายบุญสุข สิทธิพร |
6 |
บ้านละเอาะ |
270 |
243 |
513 |
124 |
นายศราวุฒิ ศรียะลา |
7 |
บ้านทุ่งสว่าง |
392 |
389 |
781 |
219 |
นายปรีชา ไกรษี |
8 |
บ้านเตาเหล็ก |
348 |
384 |
732 |
172 |
นายคารมย์ นันทะเสน |
9 |
บ้านหนองละเอาะ |
215 |
246 |
461 |
115 |
นายอุดมศักดิ์ เกษมศรี |
10 |
บ้านเชือก |
191 |
187 |
378 |
98 |
นางกรองมี จันมนตรี |
11 |
บ้านเขวา |
262 |
247 |
509 |
117 |
นายบุญเชิญ นามวิชา |
12 |
บ้านนวลละออ |
264 |
279 |
543 |
144 |
นายบุญโชค เลิสผล |
13 |
บ้านทรัพย์สมบูรณ์ |
338 |
349 |
687 |
170 |
นายสุริยัน ศรีปัตเนตร |
รวม |
3,765 |
3,802 |
7,567 |
1,903 |
|
ประชากร
- จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 1,903 ครัวเรือน
- ประชากรทั้งสิ้น 7,567 คน แยกเป็น
ชาย จำนวน 3,765 คน
หญิง จำนวน 3,802 คน
จำนวนประชากรแยกช่วงอายุ (ปี)
ช่วงอายุ (ปี) |
จำนวนประชากร |
||
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
น้อยกว่า 1 – 3 ปี |
155 |
141 |
296 |
4 – 5 ปี |
126 |
102 |
228 |
6 – 15 ปี |
527 |
400 |
927 |
16 – 21 ปี |
427 |
385 |
812 |
22 – 25 ปี |
259 |
335 |
594 |
26 – 60 ปี |
1,800 |
1,892 |
3,692 |
61 ปีขึ้นไป |
470 |
545 |
1,015 |
การคมนาคม
การคมนาคมของตำบลละเอาะ มีถนนสายหลัก 2 สาย คือ
- ถนน รพช. ศก 3116 ( ละเอาะ – หนองนาเวียง) โดยผ่าน ม. 13, ม. 2, ม.11, ม. 7
- ถนน รพช. ศก. 4004 (บ้านคล้อ – พยุห์ ) โดยผ่าน ม.8,ม.9,ม.6,ม.5 ไปตำบลตองปิด
สภาพถนนภาพในตำบลละเอาะ เป็นถนนราดยางในถนนสายหลัก และถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในหมู่บ้าน การคมนาคมติดต่อกันระหว่างหมู่โดยใช้ รถโดยสารประจำทางสายศรีสะเกษ - บ้านจาน ,รถยนต์ส่วนบุคคล,รถจักยายยนต์,รถจักยาน และรถไถนาเดินตาม
- ข้อมูลทั่วไปสภาพทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลละเอาะ